โรงเรียนวัดหนองบัว อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ยินดีต้อนรับ

Swot

SWOT
              วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร
(2S4M)
1) ด้านโครงสร้างและนโยบาย (Structure : S1 )
จุดแข็ง ( + )  (STRENGTHS)
จุดอ่อน  ( - ) (WEAKNESSES)
1.       โรงเรียนมีโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา และมีคู่มือในการปฏิบัติตามขอบข่ายงานอย่างชัดเจน ส่งผลให้ระบบการบริหารมีความคล่องตัว
2.       โรงเรียนมีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยจัดทำเป็นแผนกลยุทธ์ กำหนดวิสัยทัศน์
พันธกิจ เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดความสำเร็จ ในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างชัดเจน ครอบคลุมภารกิจทุกด้าน ส่งผลให้การดำเนินงานของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
3.       โรงเรียนมีมาตรฐานของสถานศึกษาเพื่อใช้กำหนดคุณภาพการศึกษา และมีระบบการประเมินภายใน ส่งผลให้การศึกษามีคุณภาพและได้มาตรฐาน
4.       บุคลากรและชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของโรงเรียน ส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความสมานฉันท์และราบรื่น
1.       การแบ่งงานตามโครงสร้างการบริหารของโรงเรียนที่มีข้อจำกัดในด้านบุคลากรเนื่องจากบุคลากรมรน้อย ทำให้เกิดสภาวะ“งานล้นคน” ตลอดจนต้องรับผิดชอบในงานที่ไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้า





2) ด้านผลผลิตและบริการ (Products and Service : S2 )
จุดแข็ง ( + )  (STRENGTHS)
จุดอ่อน  ( - )  (WEAKNESSES)
1.       โรงเรียนสามารถให้บริการด้านการศึกษาได้อย่างทั่วถึง โดยเปิดบริการทั้งในระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้ชุมชนในเขตบริการได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษา
2.       โรงเรียนมีอาคารสถานที่ เอื้อต่อการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ และส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพ
3.       จากผลสรุปการประเมินภายนอกของ สมศ. รอบที่ 3 โรงเรียนผ่านการประเมิน

1.       ข้อจำกัดในทั้งในด้านจำนวนและความสามารถของบุคลากรในการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
2.       จากผลสรุปการประเมินภายนอกของ สมศ.
ปี พ.ศ. 2557 โรงเรียนมีจุดปรับปรุงแก้ไขตามมาตรฐานด้านผู้เรียน คือมาตรฐานที่  5 

3) ด้านบุคลากร (Man : M1 )
จุดแข็ง ( + )  (STRENGTHS)
จุดอ่อน  ( - ) (WEAKNESSES)
1.  ครูทุกคนมีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญา และความมุ่งมั่นในการพัฒนาในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้
2. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนโดยเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และมุ่งมั่นพัฒนาคนโดยสนับสนุนให้ครูเข้ารับการประเมินวิทยฐานะจนได้เลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ
3. ครูทุกคนมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาวิชาชีพโดยเสนอตัวเข้ารับการประเมินวิทยฐานะเพื่อเลื่อนให้เป็นครูชำนาญการพิเศษ ทำให้เกิดการพัฒนาในระดับชั้นเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพ

1. เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวนครูไม่ครบชั้น และจำนวนครูก็ยังมีไม่สาขาวิชา ส่งผลให้ครูขาดความเชื่อมั่นในการสอน และต้องสอนไม่ตรงกลุ่มสาระวิชาทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบางกลุ่มสาระวิชายังไม่บรรลุเป้าหมาย
2.  เนื่องจากครูต้องรับผิดชอบภาระงานอื่นนอกเหนือจากงานสอนมากเกินไป ส่งผลให้ประสิทธิภาพงานด้านการสอนลดลง ขาดความต่อเนื่องเชื่อมโยงทั้งในด้านความรู้และทักษะในด้านงานสอน  เช่น การสอนแบบโครงงาน  การวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งต้องอาศัยเวลาอย่างมากในการดำเนินกิจกรรม




4) ด้านประสิทธิภาพทางการเงิน (Money : M2 )
จุดแข็ง ( + )  (STRENGTHS)
จุดอ่อน  ( - )  (WEAKNESSES)
1.       โรงเรียนมีการจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ทำให้มีความโปร่งใสการใช้จ่ายตรงกับความต้องการ ส่งผลให้การดำเนินงาน/กิจกรรม/โครงการของแต่กลุ่มงาน บรรลุวัตถุประสงค์
2.       โรงเรียนมีอิสระในการบริหารการเงิน ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาได้ตรงกับความต้องการ
3.       โรงเรียนมีการระดมทุน โดยจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาโรงเรียนวัดหนองบัว ส่งผลให้โรงเรียนได้พัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

1.       โรงเรียนยังไม่มีแผนระดมทรัพยากรจากชุมชนอย่างจริงจังจึงทำให้ได้รับการสนับสนุนไม่มาก
2.       โรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จึงได้รับการจัดสรรงบประมาณในจำนวนที่น้อยมาก

5) ด้านวัสดุทรัพยากร (Material : M3 )
จุดแข็ง ( + )    (STRENGTHS)
จุดอ่อน  ( - )   (WEAKNESSES)
1.       โรงเรียนมีอาคารเรียนที่เพียงพอในการจัดทำเป็นห้องเรียนและห้องกิจกรรมอื่น ๆ 
1.       โรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณในจำนวนน้อย ทำให้เกิดอุปสรรคทั้งในด้านการบำรุงรักษาสื่อเทคโนโลยี และการพัฒนาห้องกิจกรรมต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐาน

6) ด้านการบริหารจัดการ (Management : M4 )
จุดแข็ง ( + )(STRENGTHS)
จุดอ่อน  ( - )  (WEAKNESSES)
1. โรงเรียนจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยจัดทำเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารทั้งแผนระยะปานกลาง ระยะสั้น และแผนปฏิบัติงานรายปี
2. โรงเรียนมีการติดต่อประสานงานกับกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้รับการสนับสนุนทั้งอุปกรณ์การศึกษาตลอดจนอาคารสถานที่ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อการพัฒนาด้านการศึกษาของโรงเรียน
3.  โรงเรียนจัดให้มีการประเมินตนเอง และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานทุกปี
1.       การดำเนินงาน/กิจกรรม/โครงการของโรงเรียนบุคลากรต้องรับผิดชอบในภาระงานมาก และบางครั้งต้องรับผิดชอบงานที่ไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ ส่งผลให้การดำเนินงานในภาพรวมเกิดประสิทธิผลน้อย

         วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (STEP)
1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม  (Socio-cutural Factor : S)
โอกาส  ( + )  (OPPORTUNITES)
อุปสรรค  ( - )  (THREATS)
1.       ชุมชนมีที่ตั้งอยู่ในบริเวณของที่ลุ่มส่งผลให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และปลุกจิตสำนึกให้ผู้เรียนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.       ชุมชนให้ความร่วมมือด้วยดีทั้งในด้านแรงงานและกำลังทรัพย์ จึงส่งผลให้โรงเรียนได้รับการพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม
3.       ชุมชนให้การสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันส่งผลให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันทุกวันและทุกคน
4.       ชุมชนส่วนใหญ่ยังให้ความเคารพและเชื่อถือการตัดสินใจของครูและผู้นำในหมู่บ้าน ส่งผลให้การบริหารจัดการศึกษาเป็นไปด้วยความราบรื่น

1.       ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมีจำนวนน้อยทั้งภูมิปัญญาฯประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น และภูมิปัญญาฯประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
2.       ผู้ปกครองส่วนใหญ่ทอดทิ้งให้บุตรหลานให้
ปู่ ย่า ตา และ ยายเป็นผู้ดูแล ทำให้เกิดอุปสรรคในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ของนักเรียนกับโรงเรียน
3.       กระแสบริโภคนิยมในยุคโลกาภิวัฒน์  ส่งผลให้เยาวชนเกิดการเลียนแบบวัฒนธรรมต่างชาติที่ไม่เหมาะสม เช่น  การแต่งกาย  ทรงผม
2) ด้านเทคโนโลยี  (Technological Factor : T)
โอกาส  ( + )  (OPPORTUNITES)
อุปสรรค  ( - )  (THREATS)
1.       ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีส่งผลให้ชุมชนที่ยังทำอาชีพทางการเกษตรสามารถสร้างผลิตผลได้ปริมาณเพิ่มขึ้น
2.       ทุกครัวเรือนมีเครื่องอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการอุปโภคและบริโภคที่ทันสมัย ส่งผลให้ชุมชนได้รับความสุขสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3.       ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารส่งผลให้ชุมชนมีระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆเพิ่มขึ้น  ทำให้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ การเมืองการปกครอง และสิทธิของตนได้ในระดับดี
4.       ชุมชนมีปราชญ์ชาวบ้านที่หลากหลายทำให้นักเรียนมีความรักและภูมิใจในท้องถิ่น
1.       ชุมชนขาดความตระหนักถึงโทษภัยของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การปล่อยปละละเลยให้เด็กเปิดเครื่องเล่น ดีวีดี ซีวีดี ดูในสิ่งที่ไม่เหมาะสมโดยขาดคำแนะนำ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมเสี่ยงไปในทางที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน
2.       หน่วยงานที่รับผิดชอบในการควบคุมสื่อยังปล่อยให้มีสื่อลามกแฝงมาทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจนโฆษณาชวนเชื่อแฝงมาทางวิทยุและโทรทัศน์  ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมที่ดีงามของเยาวชนไทย


3) ด้านเศรษฐกิจ   (Economic Factor : E)
โอกาส  ( + )  (OPPORTUNITES)
อุปสรรค  ( - )   (THREATS)
1.       ผู้ปกครองส่วนมากทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีรายได้ดี

1.       การประกอบอาชีพของผู้ปกครอง  ทำให้พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลลูก ส่งผลให้เด็กเกิดความหว้าเหว่และมีนิสัยก้าวร้าว
2.       การประกอบอาชีพของชุมชน ถือเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงน้อย และมีแนวโน้มที่จะมีปัญหามากขึ้น

4) ด้านการเมืองและกฎหมาย  (Political and legal Factor : P)
โอกาส  ( + )(OPPORTUNITES)
อุปสรรค  ( - )(THREATS)
1.       พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
2.       นโยบายกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาทำให้โรงเรียนมีความคล่องตัวในการทำงาน
3.       โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวันแบบร้อยเปอร์เซ็นและนมจากองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็กไทย
4.       นโยบายการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ส่งผลให้ครูมีระดับการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้   เพิ่มมากขึ้น และเกิดผลดีต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

1.       นโยบายการปรับลดอัตรากำลังของภาครัฐทำให้โรงเรียนมีบุคลากรไม่พอเพียง
2.       การกำหนดมาตรฐานทางการศึกษาที่หลากหลาย ทั้งในระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับกรม และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนมาตรฐานของโรงเรียนเอง ย่อมเป็นอุปสรรคในทางปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียน
3.       ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาตาม   พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ไม่สอดคล้องกับค่านิยม  ความเชื่อและสิ่งที่คาดหวังของผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกเรียนจบแล้วได้ทำงานสบาย ๆ และรับค่าจ้างสูง ๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น